วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การวัดกำลังไฟฟ้า 3 เฟส ด้วยวัตต์มิเตอร์2ตัว

Two watt meter method 

การวัดกำลังไฟฟ้า 3 เฟส ด้วยวัตต์มิเตอร์2ตัว
   ก่อนที่เราจะเข้าเรื่อง การวัดกำลังไฟฟ้า 3 เฟส ด้วยวัตต์มิเตอร์2ตัว.นั้นเรามาทำความรู้จักก่อนดีกว่าว่าไฟฟ้า3เฟสคืออะไรหลายคนอาจสงสัยว่าไฟฟ้าทำไมต้อง3เฟสทำไมไม่ 1เฟส 2, 3 ,4 ,5 … แล้วไฟฟ้าที่เราใช้ในบ้านนั้นใช้กันกี่เฟสซึ่งด้วยเหตุผลหลายประการนี้ทางเราก็เลยอยากขอนำเสนอความรู้พื้นฐานก่อนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจที่มาของคำว่าไฟฟ้า3เฟสเพื่อให้ผู้อ่านนั้นสามารถเข้าใจหลักการวัดกำลังไฟฟ้า3เฟสตามที่หัวข้อเรื่องเรากำหนดนั้นเองนั้นเราไปดูกันดีกว่าว่าไฟฟ้า3เฟสคืออะไร
   สวัสดีครับก่อนที่ผมจะพูดถึงไฟฟ้า3เฟสขอพูดคร่าวๆถึงไฟฟ้าที่เรารู้จักกันดีหรือเห็นกันบ่อยในบ้านเราก็คือไฟฟ้า1เฟส (2สาย)คือมีสายไลน์(L)สายที่มีไฟกับสายนิวทรอล(N)สายที่ไม่มีไฟ ดังรูปตัวอย่างดังนี้




ซึ่งจากที่เราเห็นเราสามารถวัดโดยการเอาไขควงเช็คไฟไปวัดตามสายไฟเราจะเห็นว่าเส้นนึงจะมีไฟอีกเส้นจะไม่มีไฟซึ่งถ้าหากเราใช้โวลล์มิเตอร์วัดนั้นเราจะพบว่าความต่างศักย์ระหว่างสายไฟ2เส้นนี้จะมีค่าเท่ากับ 220 V ในประเทศไทยส่วนเนื้อหารายละเอียดต่างๆผู้อ่านสามารถเปิดข้อมูลหาได้ถ้าผู้อ่านสนใจ

    ต่อไปเรามาทำความรู้จักกับ ไฟฟ้า3เฟสกันดีกว่าว่าทำไมต้อง3เฟส


เหตุผลที่มาที่คิดว่าทำไมต้องมีเฟสเพิ่มเพราะเพื่อให้สามารถเพิ่มกำลังให้มากกว่าเดิม  ซึ่งภาพด้านบนนี้จะแสดงถึงว่าไฟฟ้าแต่ละเฟสนั้นจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์แล้วจะเห็นว่าทำไมต้อง3เฟสนอกจากสมดุลกลศาสตร์ 360 แบ่งเป็น เฟสละ 120 องศาแล้วยังมีการคำนวณค่ากำลังที่ได้ออกมาจะเห็นได้ว่า 3เฟสกับ4เฟส(1.5 กับ 1.53) นั้นห่างกันนิดเดียวเลยทำให้นิยมใช้3เฟสมากที่สุดนอกจากได้กำลังเยอะแล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณในการสร้างอีกด้วยนี่ก็คือเหตุผลที่มาของไฟฟ้า3เฟส

ระบบไฟฟ้า3เฟสที่เราใช้กันทั่วไปในประเทศไทยนั้นเป็นไฟฟ้าที่มีจำนวนสายไลน์ 3 เส้น สายนิวทรอล1 สายกราวนด์1ซึ่งบางระบบอาจไม่มีสายนิวทรอลก็ได้ซึ่งเนื่องจากเหตุผลข้อนี้ทำให้เกิดการคิดค้นการวัดค่ากำลังไฟฟ้าโดยวัตต์มิเตอร์2ตัวนั้นเองซึ่งเหตุผลเพราะอะไรเดียวถึงหัวข้อหลักผมจะขอพูดอีกทีนึง


ซึ่งจากการสังเกตนี้ตามทฤษฏีค่าความต่างศักย์ระหว่าง สาย LกับสายL (L-L)นั้นทำให้เรารู้ว่าค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านั้นมีค่าเท่ากับ 380vส่วนค่าความต่างศักย์ระหว่างสาย LกับสายN (L-N)จะมีค่าเท่ากับ 220 Vซึ่งเหตุผลที่ทำให้ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างสายไลน์กับสายนิวทรอลนั้นมีค่าเท่ากับ220Vก็เพราะว่าในชีวิตจริงตามอาคารใหญ่ๆหรือโรงพยาบาลนั้นจะมีโหลดแบบที่ต้องการใช้ไฟ3เฟส พวกมอเตอร์ เครื่องจักรใหญ่ๆเป็นต้นและก็ยังมีพวกโหลดที่ยังต้องใช้ไฟปกติหรือ 220vดังนั้นเพื่อไม่ให้มีปัญหากับการใช้งานและการออกแบบก็เลยได้มีการเดินและคำนวณให้มีทั้ง 380vกับ220vโดยแค่เทียบกับสายที่เราต้องการเพื่อให้ไม่มีปัญหากับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
  ต่อไปก่อนที่เราจะมาทำการวัตต์ไฟ 3 เฟสนั้นเราต้องมาดูก่อนว่าในชีวิตจริงเราจะรู้ได้ไงอันไหนสายไฟแล้วสายไฟที่เราเห็นมันเป็น3เฟสไหมเราจะรู้ได้ไง และด้วยเหตุผลนี้ผมก็ขอเสนอวิธีดูคร่าวๆโดยผมจะขอเสนอทั้งในอดีตซึ่งอาจมีหลงเหลือกับปัจจุบันดังนี้เลยครับ

  โดยวิธีว่าเส้นไหนนั้นเราจะดูจากสีของสายไฟซึ่งบางที่นั้นอาจทำสัญลักษณ์ไว้ตามส่วนของสายไฟแทนเพื่อให้รู้ว่าสายไหนคือ L1 , L2 ,L3,N,G เพื่อให้เราไม่วัดผิดและเพื่อความปลอดภัยของผู้วัด



    ซึ่งสีของสายไลน์ในไฟฟ้า3เฟสนั้นในสมัยก่อนจะใช้สี แดง,เหลือง,น้ำเงิน แสดงความเป็นสาย L1,L2,L3 ตามลำดับส่วนสายนิวทรอลจะใช้เป็นสีดำและสายกราวนด์จะใช้เป็นสีเขียว แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนสีที่ใช้เรียกสายไลน์เป็นสีแบบใหม่ ล่าสุด ณ วันที่  1 สิงหาคม 2556 (หลังจากประกาศในราชกิจจาฯ มาแล้ว 270 วัน)โดยกำหนดให้เปลี่ยนสี L1,L2,L3,N,G เป็น สีน้ำตาล,ดำ,เทา,ฟ้า,เขียว ตามลำดับ เพื่อไม่ให้ผู้วัดไม่สับสนกับข้อมูลเราก็ควรรู้สีของสายไฟสมัยก่อนกับสมัยนี้ดังรูปด้านบนเพื่อให้เรานั้นไม่วัดผิดและเป็นอันตรายต่อเราและทรัพย์สินต่อไปจะเป็นภาพตัวอย่างสายไฟในชีวิตจริงที่เราจะได้พบเห็นเราจะได้รู้ว่าในชีวิตจริงเขาใช้แบบไหนทั้งแบบเก่าและแบบใหม่

 ตัวอย่างภาพสายไฟในชีวิตจริงทั้งแบบเก่ากับแบบใหม่


ภาพแสดงสีของสายไฟในสมัยเก่า



  ภาพจำลองที่ให้สามารถมองง่ายๆว่าสายจะเป็นแบบไหน












ภาพของจริงที่จะได้พบในปัจจุบัน เป็นสายไฟแบบเก่า









ภาพแสดงสายไฟฟ้าปัจจุบันตามมาตรฐาน ณวันที่ 1 สิงหาคม 2556




ซึ่งจากภาพตัวอย่างเราจะสังเกตได้ว่าสายไฟนั้นจะเป็นสีดำปกติแต่ก็จะมีแสดงสัญลักษณ์ตรงปลายขั้วต่อของสายไฟและอาจแต้มสีไปเรื่องๆตามจุดต่างๆของสายไฟหรืออาจจะมีสัญลักษณ์อื่นเช่น ทั่งเส้นเป็นสีนั้นเลย

หรือใช้สีของแคมป์แบงค์แทนในตอนเดินท่อเพื่อให้เรารู้ว่าสายในท่อเป็นสายอะไร



ภาพทั้งหมดนี้เป็นแค่ตัวอย่างสายไฟที่เราจะได้เจอในชีวิตประจำวันดังนั้นประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้เรานั้นมีความรู้ว่าเราควรวัดสายไฟตรงไหนสายไหนเป็นสายอะไรต่อไปจะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องวัตต์มิเตอร์

หลักการทำงานของ วัตต์มิเตอร์


หลักการของ วัตต์มิเตอร์มีอยู่แค่มิเตอร์เครื่องนั้นจะต้องสามารถวัด กระแสกับแรงดันได้ภายในตัวของมันเองเพราะดูจากรูปเราจะเห็นได้ว่าวัตต์มิเตอร์นั้นมีการวัดค่า2จุดก็คือค่าของกระแสกับค่าของแรงดัน (Current Coil , Potential Coil)
โดยถ้าวัดกระแสต้องต่อสายแบบอนุกรมกับสายไฟส่วนการวัดแรงดันต้องต่อขนาดนั้นกับวงจร
                              

 ความรู้เสริมเครื่องมิเตอร์ kWh ที่อยู่หน้าบ้านนั้นวัดค่าพลังงานดังนั้นการไฟฟ้าคิดค่าไฟเราจากพลังงานไม่ใช่จากกำลัง หรือกระแส หรือ โวลด์ ซึ่งเจ้าเครื่องนี้เป็นมิเตอร์ประเภท energy meter แต่ยังใช้หลักการ
วัดคล้ายแบบวัตต์มิเตอร์ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจผิดได้


ภาพแสดงหลักการการต่อในการวัด
     
ซึ่งในสมัยนี้เครื่องแบบนี้จะไม่สะดวกต่อการวัดเพราะจากรูปที่เราเห็นคือจะต้องตัดสายไฟเพื่อมาวัดกระแสซึ่งยุ่งยากมากซึ่งมิเตอร์ที่ยังใช้แบบนี้ก็ประเภทพวกวัตต์มิเตอร์หน้าบ้านซึ่งเป็นการวัดแบบฐาวรไปเลยแต่ถ้าเป็นสมัยนี้ที่ใช้วัดเพื่อตรวจสอบก็เป็นมิเตอร์ที่ วัดVปกติส่วนวัดกระแสโดยใช้ แคมป์คล้องดังรูป

วัดกำลังทีละเฟส


การวัดกำลัง 3 เฟสโดยมิเตอร์เครื่องเดียว


ภาพที่เครื่องวัดสามารถส่งข้อมูลมาไว้บนหน้าคอมโดยที่เราไม่ต้องออกไปวัด

ซึ่งภาพพวกนี้ผมแค่อยากให้คุณเห็นว่าในโลกปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปไกลมากการที่เราจะมาศึกษาให้ครบทุกตัวคงจะยากเพราะแต่ละตัวมีหลักการทำงานในตัวต่างกันแต่สิ่งที่มิเตอร์ต่างๆเรานี้มีเหมือนกันก็คือหลักการวัดซึ่งถ้าหากเราวัดผิดต่อให้เรามีเครื่องมือดีแค่ไหนมันก็คงไม่ต่างกับเราไม่มีเลย...


ก่อนที่เราจะขึ้นเรื่องหลักการวัด3เฟสด้วยวัตต์มิเตอร์2ตัวนั้นผมขอกล่าวหลักการวัดก่อนเพื่อพอไปถึงบทที่ผมจะอธิบายจะได้เข้าใจตรงกัน
     ซึ่งในการวัดสิ่งที่เราควรรู้คือ การวัดค่ากำลังนั้นเราต้องวัดอยู่ในระบบเดียวกันหรือพูดได้อีกแบบก็คือถ้าเราวัดกระแสไลน์ เราก็ต้องวัดค่าความต่างศักย์ไลน์เหมือนกันหรือถ้าเราวัด กระแสที่เฟสเราก็ต้องวัดความต่างศักย์ที่เฟสด้วยเหมือนกัน
   ... ในที่นี้เราจะเห็นว่าจะมีคำศัพท์มาใหม่คือ LINE ,PHASE คืออะไรสำหรับคนที่ไม่รู้ผมขอกล่างถึงอย่างคร่าวๆว่าระบบไฟฟ้าเราจะแบ่งวงจรของแหล่งจ่ายกับโหลดเป็น2แบบใหญ่ๆคือ star(วาย) , delta


อ้างอิงภาพจาก : ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

P = VP IP cosθ   หรือ    P= V(L)I(L) cosθ

             ซึ่งจากสมการนี้เราจะต้องวัดให้อยู่ในระบบเดียวกันส่วนมากปัญหาที่พบคือคนส่วนมากชอบไปวัดโวลต์คร่อมที่ตัวอุปกรณ์ที่อยากรู้กำลังแล้วไปวัด กระแสจากสายไฟโดยการค้องแคมป์เพราะมันง่ายซึ่งในการทำแบบนี้ถ้าหากอุปกรณ์นั้นต่อแบบเดลต้ารูปข้างบนเราจะเห็นว่าโวลต์กับกระแสนั้นจะอยู่ในคนละเทอม์กัน(ความต่างศักย์จะอยู่ในเทอม์ของเฟส ส่วนกระแสจะอยู่ในเทอมของไลน์)ทำให้ค่าที่เราคำนวณนั้นได้ค่าที่ผิดไปจากค่าที่เราต้องการวัดจริงๆซึ่งในกรณีนี้เราจะพบบ่อยมากเพราะเป็นความเคยชินของผู้วัดและก็ขาดการคิดตามหลักการซึ่งผลกระทบจากการวัดผิดนั้นจะส่งผลให้การวิจัยของตัวเองหรือการนำข้อมูลไปใช้นั้นกลายเป็นเรื่องที่ผิดหมดดังนั้นเราควรรอบคอบทุกครั้งในการวัด
เพราะการวัดเปรียบเสมือนเบื้องหลังของความรู้นั้นเอง

การวัดกำลังไฟฟ้านั้นสามารถทำได้หลายวิธีซึ่งแต่ละวิธีนั้นขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่เราวัดนั้นเป็น 3 เฟสแบบไหน
ซึ่งการวัดแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ
1.วิธีใช้วัตต์มิเตอร์ 3 เครื่อง
2.วิธีใช้วัตต์มิเตอร์ 2 เครื่อง
3.วิธีใช้วัตต์มิเตอร์ 1 เครื่อง

ซึ่งในบทความนี้ผมขอกล่าวถึงการวัด แบบ 2 watt method ซึ่งจะใช้วัตต์มิเตอร์แค่2ตัวเท่านั้นโดยการใช้ เฟสใดเฟสนึงเป็นเฟสอ้างอิงแล้วที่เราต้องรู้ก็คือการวัดแบบ 2 watt method นั้นจะวัดได้ในกรณี 3เฟส 3สายเท่านั้น


 ภาพแสดงการวัดของตัว วัตต์มิเตอร์


ภาพแสดงการวัดแบบ 2 watt method  แบบ star – delta

ซึ่งจากรูป ก,ข เราจะเห็นได้ว่าการวัดแบบ two watt method นั้นจะไม่สนใจว่า load ต่อแบบไหนสนใจแค่ว่าวงจรนั้นต้องเป็น 3เฟส 3สาย
ซึ่งกำลังรวม 3 เฟสนั้นจะได้มาจากค่าจากวัตต์มิเตอร์2ตัวรวมกัน

P total = P1 + P2


โดยที่ค่าจากวัตต์มิเตอร์2ตัวนั้นสามารถมีค่าเป็นบวกหรือเป็นลบก็ได้

จากการพิสูจน์ ทฤษฏี กับ การจำลองโดย OrCAD ดังนี้

ภาพจำลองแหล่งจ่ายแต่ละเฟส

การวัดV Line – V Line  โดยใช้ V3 เป็นจุดเทียบ



กราฟกระแส  
จะเห็นได้ว่าค่าทั้งหมดใน ORCAD นี่เป็นค่าที่สามารถจำลองเป็นกราฟแหล่งจ่าย 3 เฟสของจริงได้ต่อไปผมจะขอเสนอวิธีการวัดแบบ two watt method โดยการจำลองในโปรแกรม ORCAD


Two watt meter method
การวัดกำลัง แบบใช้การวัดแค่2ครั้งโดยให้V3 เป็นตัวอ้างอิง

วัตต์มิเตอร์ตัวที่1
วัดมิเตอร์ตัวที่2

การวัดกำลัง แบบใช้การวัดแค่2ครั้งโดยให้V3 เป็นตัวอ้างอิง

P total = P1 + P2
            = (7.2587 + 7.2515)kW  = 14.5102 kW


V2 เป็นตัวอ้างอิง

การวัดV Line – V Line  โดยใช้ V2 เป็นจุดเทียบ


กราฟกระแส  

สรุป I 1 ตาม I 3 อยู่ 120 องศา


การวัดกำลัง แบบใช้การวัดแค่2ครั้งโดยให้V2 เป็นตัวอ้างอิง

การวัดโดยวัตต์มิเตอร์ตัวที่1


การวัดโดยวัตต์มิเตอร์ตัวที่2
การวัดกำลัง แบบใช้การวัดแค่2ครั้งโดยให้V2 เป็นตัวอ้างอิง
P total = P1 + P2
            = (7.2611 + 7.2844)kW  = 14.545 kW


สรุป จากการจำลอง2ครั้งโดยเปลี่ยนจุดเทียบจากเทียบ V3 และ V2 ทำให้เราเห็นว่าไม่ว่าเราจะเปลี่ยนจุดเทียบนั้นค่าที่ได้จากมิเตอร์สุดท้ายเอามารวมกันก็จะได้กำลังวัตต์รวมของ3เฟส


อันนี้คือการจำลองและคำนวณอ้างอิงการวัดข้างบนว่าค่าที่ได้เป็นค่าที่ถูกต้อง


บทสรุป
ขอสรุปว่าการวัด Two watt method นั้นสามารถใช้วิธีวัดแบบนี้ได้ในกรณีที่เป็นระบบ 3 เฟส3สายทุกกรณีโดยการวัดนั้นต้องมีจุดอ้างอิงเป็นจุดเดียวกันจุดใดจุดนึงจะเป็นเฟส1หรือเฟส2หรือเฟส3ก็ได้แต่ต้องมีจุดอ้างอิงจุดนึงและค่ามาจากค่าบนวัตต์มิเตอร์2ตัวรวมกันจะมีค่าเท่ากับกำลังรวมของ3เฟส


ภาพการทดลองจริงเปรียบเทียบการวัดแบบ two watt meter method

 อุปกรณ์ประกอบการทดลอง
1.) ชุดโคมหลอดไฟ 36 ดวง 1 ชุด
2.) Watt meter type 2042 1 ตัว
3.) Power Factor meter type 2039 1 ตัว
4.) Amp meter 1 ตัว
5.) Variac (หม้อแปลงปรับค่าได้) 3 phase 1 ตัว
6.) Junction block 1 ตัว
7.) Circuit Breaker 1 ตัว
โดยการทดลองนี้ผมเอาเนื้อหามาจาก http://zakellta.blogspot.com/2010/12/9-three-phase-power-instrument-and.html ซึ่งได้ทดลองมาแล้วผมจึงขอขอบคุณ ซึ่งเราจะมาดูกันว่าค่ามิเตอร์ที่วัดจาก two watt methodจะเป็นยังไงแล้วนำค่า2อันมารวมกันจะได้เท่ากับ กำลังรวมจริงๆไหม


ซึ่งค่าจากภาพที่3นี้จะเป็นค่าความต่างศักย์และกระแสของแต่ละเฟสซึ่งถ้าเรานำค่า กระแสกับความต่างศักย์ของแต่ละเฟสมาคูณกันจะได้กำลังไฟฟ้าของเฟสนั้นซึ่งเราสามารถคิดจากอันนี้ก็ได้เหมือนกัน
P total = P1 + P2 + P3
             = (167.6 * 0.368) + ( 83.3 * 0.770) + ( 144.0 * 0.674 )
             =61.67 + 67.14 + 97.056
             = 225.866 w



  ภาพนี้จะเป็นค่าที่อ่านจากวัตต์มิเตอร์โดยตรงซึ่งภาพทางด้านซ้ายจะเป็นการวัดแบบ 3 เฟสในตัวเดียวส่วนภาพด้านขวามิเตอร์2ตัวเป็นการวัดแบบ two watt method
ซึ่งถ้าเราเอาภาพจากมิเตอร์ด้านซ้าย two watt method มารวมกันจะได้ค่าตรงกับกำลังไฟฟ้ารวม
 P total = P1 + P2
             = 76.9 + 147.2
             =224.1 w

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าค่าที่วัดแบบ two watt meter method นั้นมีค่าเท่ากับกำลังไฟฟ้ารวม 3 เฟส
  สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนี้ผมหวังว่าเนื้อหาที่ผมตั้งใจทำนั้นจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับทุกคนที่อ่านและสนใจและก็ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยถ้าหากเนื้อหานั้นมีความผิดพลาด ณ ประการใดก็ตาม

TycoonOz

นาย กิตติภณ ทองพหรม 55070500456 ปี2 ห้อง B -ผู้เขียน
นาย ปวีณ โล่ห์ทอง 55070500426 ปี2 ห้อง A- http://harmonics-pf.blogspot.com/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Reference :
 Facebook –ห้องไฟฟ้า
อ้างอิงภาพจาก : ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
อ. ธวัชชัย ชยาวนิช  : อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี







5 ความคิดเห็น:

  1. เป็นบล็อกที่มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ^^

    ตอบลบ
  2. วัดไฟ3เฟสอย่างไรจะไรครับจะรู้ว่าL1L2L3

    ตอบลบ
  3. Slot Machine Games - JTM Hub
    JTM - the hottest online 당진 출장안마 video 광양 출장마사지 game development company with great games and an outstanding reputation. JTM develops 파주 출장마사지 the most popular 과천 출장마사지 video slot games. You 충주 출장마사지 can explore more

    ตอบลบ